เทคโนโลยีอาหารเฉพาะโรคให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

อาหารเฉพาะโรคหมายถึงอาหารที่ได้รับการดัดแปลงส่วนประกอบ เช่น ปริมาณสารอาหาร เนื้อสัมผัสหรือวัตถุดิบ ให้เหมาะสมและเฉพาะเจาะจงกับตัวผู้ป่วยทั้งในแง่ของภาวะร่างกาย ความเจ็บป่วยและความรุนแรงของโรค โดยช่วยชะลอความรุนแรงของโรค รักษาอาการเจ็บป่วยและส่งเสริมให้การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่

เช่น ผู้ป่วยเบาหวานก็จะได้รับอาหารเฉพาะโรคที่ถูกดัดแปลงมาให้เหมาะสำหรับโรคเบาหวาน เป็นต้น เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาในโรงพยาบาลและมีความจำเป็นต้องได้รับอาหารเฉพาะโรค แพทย์มักจะเป็นผู้ประเมินอาการและกำหนดลักษณะอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น พลังงานรวมที่ควรได้รับ สารอาหารหรือชนิดอาหารที่มีการกำจัดปริมาณ เช่น จำกัดเกลือ 1 กรัม จำกัดโปรตีน 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว เป็นต้น จากนั้นนักกำหนดอาหารจึงนำใบคำสั่งแพทย์มาคำนวณต่อเป็นปริมาณวัตถุดิบ แล้วทำการดัดแปลงหรือออกแบบมื้ออาหารให้เหมาะสมกับที่ผู้ป่วยควรได้รับ หากผู้ป่วยกำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เมนูอาหารนี้ก็จะถูกส่งต่อไปยังฝ่ายครัวของโรงพยาบาล เพื่อให้พ่อครัวแม่ครัวสามารถปรุงอาหารส่งขึ้นไปให้ผู้ป่วยต่อไป อาหารเฉพาะโรคเป็นอาหารที่ผลิตขึ้นไม่ใช่เพื่อการรักษา แต่เป็นอาหารสำหรับป้องกันและช่วยควบคุมอาการของโรคให้ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเอ็นซีดีอย่างโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไต ๆลฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นภัยร้ายอันดับหนึ่งที่ทำให้คนทั่วโลกรวมทั้งคนไทยป่วย พิการ และเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ตัวอย่างอาหารเฉพาะโรค เช่น อาหารที่ใช้เทคนิค เอนแคปซูเลชันเช่นการทำให้อาหารเกิดการย่อยแป้งเป็นน้ำตาลช้าลง ซึ่งเป็นอาหารเหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน เป็นต้น

Scroll to Top