เทคโนโลยีอาหาร

อาหารสามมิติ สัมผัสเหมือนจริง 

ความสุนทรีย์ในการกินอาหารที่ทำจากพืชจะยังคงไม่เปลี่ยนไป เราจะไม่ต้องทนทุกข์กับเนื้อสัมผัสเย็นๆ หยาบๆ ของผักเสมอไป เพราะเทคโนโลยีการพิมพ์อาหารแบบ 3 มิตินั้นสามารถจำลองพื้นผิวและเนื้อสัมผัสของอาหารให้เหมือนกับต้นฉบับได้ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติกำเนิดขึ้นตั้งแต่ 30 ปีก่อน เพื่อใช้สร้างโมเดลเสมือนจริง และมีการนำมาใช้จริงในอุตสาหกรรมอาหาร

Personalized Food โอกาสใหม่ในธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ

Personalized Food คือเรื่องค่อนข้างใหม่ในตลาด ดังนั้นการพยายามสื่อสารข้อมูลให้ผู้บริโภคเข้าใจอาหารเฉพาะบุคคลมากขึ้นคือเรื่องจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการทำผ่านช่องทางขององค์กร หรือการใช้สื่อต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภค ขณะเดียวกันการร่วมมือกับหน่วยงานเกี่ยวกับสุขภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถสื่อสารข้อมูลและสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคได้

เนื้อสัตว์จากห้องทดลองจากเซลล์ต้นกำเนิด

เนื้อสัตว์ที่สังเคราะห์ในห้องทดลองเป็นการเพาะเนื้อเยื่อในห้องแล็บจากเซลล์ต้นกำเนิดเป็นแนวคิดที่มีการพัฒนามาได้สักพักแล้ว เพราะหากทำสำเร็จย่อมจะมีข้อดีหลายประการ ทั้งสามารถลดการทำปศุสัตว์ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาการปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ ลดปัญหาทางจริยธรรมในการฆ่าสัตว์เพื่อนำมาบริโภคและการทำปศุสัตว์แบบเลี้ยงทรมาน

โปรตีนสกัดจากตะไคร่น้ำอุดมไปด้วยโอเมก้า 3

ขณะที่ประชากรบนโลกทวีจำนวนเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แหล่งอาหารทางเลือกอื่นๆจึงเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากการปลูกเนื้อสัตว์ในห้องแล็บอย่างที่ AHEAD ASIA เคยนำเสนอไปแล้ว อีกหนึ่งตัวเลือกก็คือตะไคร่น้ำที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และโปรตีน ตะไคร่น้ำเป็นพืชที่เติบโตง่าย แม้อยู๋ในน้ำกร่อยหรือในที่ๆแห้งแล้งที่สุดอย่างทะเลทราย

เครื่องพิมพ์อาหารตามสั่งใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร

เครื่องพิมพ์ 3 มิตินั้นแทบจะไปปรากฏในทุกวงการแล้ว และปัจจุบัน ก็มีผู้นำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร ในชื่อ Foodini ใช้หลักการแบบเดียวกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติอื่นๆ แต่เปลี่ยนจากการฉีดพลาสติกหรือโลหะ มาเป็นอาหารแทน เพียงแค่ใส่ส่วนผสมที่จำเป็นลงไปเท่านั้น หมายความว่าขอเพียงคุณมีไอเดีย ก็อาจฉีดนักเก็ตไก่รูปตุ๊กตาไดโนเสาร์

สารเคลือบอายุอาหารไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

สารเคลือบอายุอาหารช่วยลดการระเหยของน้ำและการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้อาหารเสียยากและเก็บได้นานกว่าเดิม 3 เท่า รวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สารชนิดนี้จะช่วยแก้ปัญหาอาหารที่เหลือทิ้งและหมดอายุ ซึ่งกระบวนการผลิตในแต่ละครั้งล้วนมีต้นทุนและใช้ทรัพยากร ดังนั้น การยืดอายุและเก็บรักษาอาหารจะช่วยให้ใช้ทรัพยากรนั้นๆ ได้คุ้มค่าสูงสุด

นวัตกรรมไหมยั่งยืน สู่โปรตีนผงที่กินง่ายกว่าเดิม

หนอนไหมคืออาหารกินเล่นที่หลายคนโปรดปราน แต่ในทางกลับกันหลายคนก็ไม่โปรดปรานเพราะรู้สึกไม่ดีกับรูปลักษณ์ของหนอนตัวอวบอ้วนจนไม่กล้าลอง แต่ถ้าหากเปลี่ยนรูปลักษณ์เป็นผงโรย การกินโปรตีนจากหนอนไหมก็ง่ายยิ่งขึ้น และออกแบบวิธีกินได้มากกว่าเดิม ‘KOKOONIC’ เป็นแบรนด์ของผู้ผลิตหนอนไหมเพื่อเป็นวัตถุดิบอาหาร ที่เลี้ยงหนอนไหมด้วยใบมันสำปะหลัง

การแปรรูปอาหารด้วยเทคโนโลยีฟรีซดราย

เทคโนโลยีฟรีซดรายหรือเทคโนโลยีการอบแห้งแบบแช่เยือกแข็งคือการทำให้อาหารแช่แข็งกลายเป็นอาหารแห้งโดยอาศัยการระเหิดของน้ำแข็งในสภาวะสุญญากาศ ซึ่งก่อนหน้านี้ฟรีซดรายเป็นเทคโนโลยีการทำแห้งที่ใช้กันแพร่หลายในการทำแห้งตัวอย่างอาหารหรือวัสดุอื่นๆ ในปริมาณน้อยๆ เพื่อการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ นำมาใช้ในการแปรรูปอาหารของภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น

แมลงกินได้ แหล่งโปรตีนชั้นยอดเทรนด์อาหารแห่งอนาคต

สำนักงานความปลอดภัยอาหารสหภาพยุโรปภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกแถลงการณ์ขึ้นทะเบียนให้ตั๊กแตนเป็นอาหารชนิดใหม่ที่ปลอดภัยต่อการบริโภคของมนุษย์นั่นทำให้ตั๊กแตนกลายเป็นอาหารของชาวโลกอย่างเป็นทางการ ต่อจากหนอนนกแบบแห้งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้านี้โดยมีจิ้งหรีดทองแดงลายหรือจิ้งหรีดขาวรอต่อคิวขึ้นทะเบียน

เทคโนโลยีการอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง

การแปรรูปอาหารด้วยเทคโนโลยีใหม่ เป็นที่รู้กันดีว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางด้านอาหารและวัตถุดิบทางด้านการเกษตรที่ใช้ในการปรุงอาหาร การแปรรูปอาหารจึงถือเป็นกระบวนการสำคัญในการเปลี่ยนวัตถุดิบอาหารให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่สะดวกและปลอดภัยต่อการบริโภค การแปรรูปอาหารด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เป็นการถนอมอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา

Scroll to Top