Personalized Food คือเรื่องค่อนข้างใหม่ในตลาด ดังนั้นการพยายามสื่อสารข้อมูลให้ผู้บริโภคเข้าใจอาหารเฉพาะบุคคลมากขึ้นคือเรื่องจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการทำผ่านช่องทางขององค์กร หรือการใช้สื่อต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภค ขณะเดียวกันการร่วมมือกับหน่วยงานเกี่ยวกับสุขภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถสื่อสารข้อมูลและสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริโภคได้
เพราะผู้บริโภคสามารถรับรู้สุขภาพตัวเอง เพิ่มโอกาสตัดสินใจในการลงทุนซื้อ Personanlized Food มารับประทานเพื่อยกระดับสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นปัจจุบันมี Personalized Food ที่น่าสนใจ เช่น Kewpie ของประเทศญี่ปุ่น จัดทำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ที่บดเคี้ยว และกลืนได้ง่าย, Nestle ที่เริ่มนำ DNA มาวิเคราะห์เพื่อออกแบบอาหารเฉพาะบุคคลในสหรัฐอเมริกา ส่วนในไทยมี ร้านต้นกล้าฟ้าใส ที่จำหน่ายอาหารสำหรับผู้ควบคุมน้ำหนัก, ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาล ตอนนี้ความเป็น Personalized เริ่มกระจายไปอยู่ในทุกที่ ไล่ตั้งแต่โฆษณา, แอปพลิเคชันต่าง ๆ ล่าสุดคือ อาหาร เพราะผู้บริโภคชื่นชอบความเป็นตัวของตัวเองมากกว่าเดิม อยากได้สิ่งที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด จึงไม่แปลกที่ทิศทาง Personalized Food หรืออาหารเฉพาะบุคคล จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง